หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                                                        นวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว
         สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว คือ ผ้าปิดจมูกที่ใช้เส้นใยย่อยสลายได้ ( pal ) และใช้เทคโนโลยีอีเลคโตรสปินนิ่ง (electrospinning) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมรวมทั้งผสมสารสกัดจากธรรมชาติของเปลือกมังคุด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อวัณโรค ในการวิจัยนี้ได้เลือกพอลิเเอลเเล็ตติกแอซิดเนืองจากเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งพอลิแล็คไทต์ใช้ทางการแพทย์ เช่น ใช้ในการเย็บแผล  จากการวิจัยพบว่าเส้นใยเส้นใยพอลิแอลแล็คติกแอซิด ไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียใดๆได้เลย แต่เมื่อใส่สารสกัดจากเปลือกมังคุดในเส้นใย จึงสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ โยปริมาณสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่ใสในเส้นใยมากขึ้นการต้านเชื้อแบคทีเรียก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  ผลการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อวัณโรคดื้อยาโยสารสกัดจากเปลือกมังคุด 30% และ50% ที่เคลือบที่เคลือบบนเส้นใย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัณโรคดื้อยาได้ 99.99 % เส้นใยดังกล่าวถูกนำไปพัฒนาเป็นองค์ประกอบของเเผ่นปิดจมูกเพื่อใช้ในสาธานณะ ซึ่งช่วยในการป้องกันเชื้อวัณโรค และแผ่นกรองอากาศในเครื่งกรองอากาศซึ่งสามารถลดเชื้อแบคทีเรียและวัณโรคได้   
                                   (ข้อมูลจาก:นวัตกรรมสิ่งทอ (Innovative Textiles)                                           :สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ                กระผมมีความคิดว่า...อุตสาหกรรมสิ่งทอหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์มากมาย แต่หากมองลึกลงไปแล้วภาคอุตสาหกรรมมักจะปล่อยของเสียจากการทำกิจกรรมต่างๆ ออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อวเสื่อมโทรมลง เช่น ปัญหานํ้าเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นการแก้ใขปัญหาดังกล่าวจะต้องช่วยกันในหลายส่วน ภาครัฐต้องออกกฎหมายบังคับการปล่อยของเสีย สร้างจิตสำนึกการรักษาสิ่งเเวดล้อมของผู้ประกอบการ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อยของเสียลงสู่ธรรมชาติให้น้อยที่สุด เพื่อให้อุตสาหกรรมเจริญควบคู่ไปกับสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไปอย่างยั่งยืน

1 ความคิดเห็น:

  1. ทำได้ดีมาก ขอให้พัฒนาเวปต่อไป เผยแพร่ความรู้ที่จะเป็นสาธารณะ เป็นวิทยาทาน จะได้ประโยชน์อย่างมาก

    ตอบลบ